COVID-19 ได้สร้างปัญหาและความยุ่งยากให้กับการศึกษาไทย แต่ในอีกมุมหนึ่ง..กลับเป็นตัวแปรในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการศึกษา และเป็นตัวขับเคลื่อนในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาไทย ดังนั้น หากทุกฝ่ายในระบบการศึกษาไทยช่วยกันทำระบบกลไกการศึกษาที่แข็งแรง ก็จะสามารถขับเคลื่อนการศึกษาท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างแน่นอน

   ระบบการศึกษาที่ดีควรมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ทันสถานการณ์และบริบทแวดล้อมที่ไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่เป็นของโลก การบริหารจัดการระบบการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงต้องปรับตัวไปสู่ “การศึกษายกกำลังสอง” ที่จะเปลี่ยนจาก One-Size-Fits-All ไปสู่การตอบโจทย์การเรียนรู้และการพัฒนารายบุคคลมากยิ่งขึ้น ต้องมองกว้างกว่าแค่ระบบการศึกษาแต่เป็น “ระบบนิเวศ” การศึกษาของไทย เพื่อผลักดันให้ก้าวไปสู่การเป็นฐานการผลิตทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่เป็นเลิศ

   การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเรียนรู้เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์เนื้อหาบทเรียน (Content) อำนวยความสะดวกการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การปฏิสัมพันธ์ของคุณครูและนักเรียนจะลดน้อยลง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ยังมีอยู่แต่เปลี่ยนพื้นที่จากโรงเรียนสู่โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ทุกคนอาจคุ้นชินกับภาพห้องเรียนที่มีผู้เรียนจำนวนมาก รวมตัวกันใช้หนังสือเหมือนกัน สื่อประกอบการสอนเหมือนกัน และมีวิธีการประเมินผลเหมือนกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการเรียนรู้วิถีใหม่นั้น เป้าหมายของการศึกษาอาจยังคงเดิม แต่ผู้เรียนสามารถใช้วิธีที่แตกต่างในการไปให้ถึงจุดหมายได้ นักเรียนบางคนอาจเรียนรู้ได้เร็วกว่า หากได้ดูภาพหรือคลิปวิดีโอ แต่นักเรียนบางคนอาจชอบการฟังคุณครูสอนหน้าชั้นเรียน เพราะรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โรงเรียนจึงต้องกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดำเนินการเรียนการสอนให้ไปได้ แสดงให้เห็นถึงการบริหารรูปแบบการเรียนการสอนหลังโควิด-19 (Social Distancing) และการการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความปกติใหม่ (New Normal) มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการ ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนนั้น ต้องการการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ (Change Learning) เพื่อให้เกิดความเหมาะสม
กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น

   เมื่อโลกกำลังหมุนช้าลงด้วยวิกฤตจากโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับด้านการศึกษาซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงจากแรงกดดันและการกระตุ้นจากโรคระบาด ที่ทำให้ต้อง Social Distancing หรือการเพิ่มระยะห่างระหว่างกันในสังคม ในวงการการศึกษา ทั้งในไทยและต่างประเทศ มีการนำระบบการเรียนการสอนออนไลน์เข้ามาปรับใช้ ผ่านทางออนไลน์ด้วยเครื่องมือทันสมัยต่างๆ เช่น

  1. ผู้สอนสามารถบันทึกวิดีโอการสอนของตน แล้วแจกจ่ายให้ผู้เรียนผ่านระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ (Cloud Storage) ด้วย Google Drive หรือ Microsoft One Drive หรือ Microsoft Stream แล้วจำกัดสิทธิการเข้าถึงของผู้เรียน
  2. ผู้สอนสามารถถ่ายทอดสด การสอนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) ด้วย Microsoft Teams หรือ Google Meet
  3. ผู้สอนสามารถสร้างและใช้งานห้องเรียนออนไลน์ (E-Classroom) ด้วย Microsoft Teams หรือ Google Classroom ซึ่งเครื่องมือทั้งคู่มีคุณลักษณะที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน เช่น การแจกจ่ายเอกสารประกอบการสอน การสนทนา การสร้างกระดาน ถามตอบ การมอบหมายงานหรือสั่งการบ้าน การตรวจงาน การสร้างแบบทดสอบ และการให้คะแนน เป็นต้น
  4. ผู้สอนสามารถสร้างและทำเอกสารการสอน เอกสารต่างๆ รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูล และแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลกันด้วย Microsoft Office 365 หรือ Google Drive
  5. ผู้สอนสามารถใช้ Microsoft Teams ซึ่งเครื่องมือที่มีคุณลักษณะสำหรับสื่อสารระดับองค์กร เช่น การสร้างกลุ่มงาน การสนทนากลุ่ม วางแผนงาน ติดตามความคืบหน้า และการนัดหมาย เป็นต้น
  6. ผู้สอนสามารถสอนสดออนไลน์ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) ด้วย Microsoft Teams หรือ Google Meet เป็นต้น

ทั้งนี้ยังมีเครื่องมือและโปรแกรมต่างๆ อีกมากมายที่ถูกพัฒนาขึ้น และได้รับความนิยมในการใช้งาน สำหรับการเรียนการสอนการประชุมต่าง อาทิ เช่น

  • โปรแกรม Cisco Webex Meeting
  • โปรแกรม Google Hangout
  • Facebook Live
  • โปรแกรม Zoom

โปรแกรมเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการสอนออนไลน์ การทำงานจากที่บ้าน รวมทั้งการสร้างห้องเรียนเสมือนจริงขึ้น โดยผู้สอนสามารถเลือกใช้งานตามความถนัด และตามความเหมาะสมของการเรียนการสอนออนไลน์

Pin It

สมาชิกกำลังใช้งาน

มี 82 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สมาชิกใหม่

  • 879
  • 825
  • 789

สถิติ

  • สมาชิก 34
  • เนื้อหา 535
  • เนื้อหาที่เปิดอ่าน 112681